logo

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ภาวะซึมเศร้า / โรคซึมเศร้า

  1. สาเหตุทางกาย (Biological cause): เกิดจากความผิดปกติเสียหายของสมองซึ่งอาจมีสาเหตุได้หลายสาเหตุ เช่น โรคเส้นเลือดแข็งตัวผิดปกติ โรคเส้นเลือดอุดตันในสมอง โรคมะเร็งสมอง นอกจากนี้ความผิดปกติทางกายอื่นๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ เช่น โรคตับอักเสบ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคพาร์กินสัน โรคเอสแอลอี เป็นต้น รวมถึงกรรมพันธุ์และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
  2. สาเหตุด้านจิตใจ (Psychological cause): โดยผู้ที่เป็นโรคนี้ต้องประสบกับภาวะเหตุการณ์รุนแรงบางอย่างในชีวิตที่ตนเองไม่สามารถจัดการได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากวิธีเลี้ยงดูในวัยเด็ก ครอบครัวตึงเครียด สะเทือนใจอย่างมาก ถูกบีบคั้นอย่างมาก ความสูญเสีย เป็นต้น
  3. สาเหตุด้านสังคม (Social cause): สังคมที่ยุ่งเหยิงมีความเครียด เช่น ความกดดันจากสังคมจากเศรษฐกิจเป็นเวลานาน
  1. รู้สึกผิดหวัง สิ้นหวัง ไม่มีใครช่วยได้
  2. ไร้ความสนใจในกิจวัตรประจำวันหรือสิ่งแวดล้อมจากเดิมที่เคยสนใจ เช่น เคยดูทีวีแล้วสนุกก็ไม่อยากดูทีวี
  3. การกินและน้ำหนักเปลี่ยนแปลง บางคนกินเยอะขึ้น บางคนเบื่ออาหาร ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  4. ปัญหาการนอน เมื่อเกิดภาวะ/โรคซึมเศร้ามักจะมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย
  5. โกรธและหงุดหงิดง่าย ซึ่งมักจะเกิดจากความอดทนต่อความเครียดต่ำลง มักจะพบในวัยรุ่น
  6. รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด ตำหนิตนเองบ่อยๆ
  7. ไร้พลัง มีความรู้สึกสูญเสียพลัง ไม่มีพลังขับเคลื่อนให้ต้องทำอะไรในชีวิตประจำวัน
  8. พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เมื่อเศร้าแล้วบางคนหาทางออกด้านพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ติดยาเสพติด ติดพนัน ขับรถเร็ว เล่นกีฬาเสี่ยงตาย เป็นต้น
  9. อาการทางร่างกาย เช่น การเจ็บป่วย (เช่น ปวดท้อง มึนศีรษะ) และ/หรือการเจ็บปวดบ่อย (เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่)โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุทางร่างกายได้
  1. การหายใจ: ผิดไปจากปกติ จะหายใจถี่ขึ้น ตื้นขึ้น และหลายครั้งกลั้นหายใจโดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งหากเป็นแบบนี้บ่อยๆ อากาศจะเข้าสู่ปอดน้อยลงเรื่อยๆ สุดท้ายคนที่เครียดมักจะถอนหายใจ เพื่อระบายอากาศออกมาและบังคับให้หายใจเข้าลึกๆ ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
  2. อาการร้อนท้อง ปวดท้อง หรือร้อนกระเพาะอาหาร: เกิดเนื่องจากเวลาเครียดจากการทำงาน รับงานมาทำเยอะๆ หรือฟังเรื่องร้ายๆ หรือถูกตำหนิบ่อยๆ จะเกิดอาการร้อนในท้อง แสบท้อง ซึ่งเกิดจากการหลั่งกรดมากในกระเพาะอาหาร
  3. ปวดหัว ปวดขมับ: เกิดขึ้นได้บ่อยเวลาเครียด สาเหตุมาจากการหายใจที่ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เต็มที่ ทำให้ต้องสูบฉีดเลือดไปสมองเร็วขึ้นและเส้นเลือดบีบตัวมากขึ้น ทำให้ปวดตุ๊บๆ ที่ศีรษะ
  1. ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง เต้นแอโรบิค
  2. สร้างเสียงหัวเราะให้ตัวเอง ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนขำขัน เพื่อคลายความวิตกกังวลและลดความเครียด
  3. ระบายอารมณ์เสียบ้าง ซึ่งมีหลายวิธี ทั้งตะโกน ร้องไห้ หรือเขียนความรู้สึกลงในสมุดบันทึก
  4. พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ การเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟังจะช่วยลดความฟุ้งซ่าน ทั้งยังได้ข้อคิดและเรียนรู้ว่าความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นกับเราเพียงคนเดียว
  5. มองโลกในแง่ดี ทุกปัญหาย่อมมีทางออก ทุกอุปสรรคย่อมมีโอกาส การมองโลกในแง่ดี ช่วยลดความเครียดความวิตกกังวล ทำให้ค้นพบแนวทางในการแก้ไขปัญหา
  • ตระหนักรู้ในตนเอง รู้จักว่าอารมณ์ตนเองเป็นอย่างไร ยอมรับตามอารมณ์ที่ตนเองเป็น
  • การออกกำลังกายตามควรกับสุขภาพ
  • กินอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนอย่างเพียงพอสำคัญมากในการป้องกันความเครียด
  • กิจกรรมนันทนาการ เช่น ท่องเที่ยว ทำงานอดิเรก เป็นต้น
  • สวดมนต์ นั่งสมาธิ
  • แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การปรับทัศนคติของตนเอง เช่น มองโลกในแง่บวกหรือมีความสุขกับสิ่งง่ายๆ รอบตัวเอง